วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความหมายของหนังสือ

หนังสือ
 เป็นสื่อที่รวบรวมของข้อมูล ประเภทตัวอักษร และ รูปภาพ ที่ลงในแผ่นกระดาษหรือ วัสดุชนิดอื่น และรวมเข้าด้วยกัน ด้วยวิธีการ เย็บเล่ม หรือ ทากาว เข้าด้วยกันที่บริเวณขอบด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีขนาดต่างๆกัน แต่มักจะไม่ทำใหญ่กว่าการจับและเปิดอ่านสะดวก หนังสือมักจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ วรรณกรรม ต่างๆ สำหรับหนังสือในรูปแบบที่เก็บในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์ จะเรียกว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีบุ๊ก (e-book)การจัดพิมพ์ตามมาตรฐานจะมีหมายเลขไอเอสบีเอ็น (ISBN) เพื่อจะระบุประเทศและสำนักพิมพ์หนังสือถือเป็นสื่อที่มีความเก่าแก่ และมีอายุยาวนานที่สุดในบรรดาสื่อทั้งหมด เคยมีการทำนายไว้ว่า เมื่อ วิทยุเกิดขึ้น หนังสือก็อาจจะหมดความสำคัญไป แต่เมื่อวิทยุถือกำเนิดขึ้นจริง หนังสือก็ยังคงได้รับความนิยมเหมือนเดิมหลังจากนั้นมีการทำนายว่า เมื่อ โทรทัศน์ เกิดขึ้น หนังสือก็อาจจะหมดความสำคัญไป แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหลังจาก โทรทัศน์เกิดขึ้น หนังสือก็ยังคงได้รับความสำคัญเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน
ประเภทของหนังสือ
                แบ่งตามการเผยแพร่
-                   นิตยสาร (อังกฤษ: magazine) คือสิ่งพิมพ์รายคาบที่ ออกเป็นระยะสำหรับผู้อ่านทั่วไป มีเนื้อหาหลากหลาย มุ่งทั้งให้ความรู้และความบันเทิง ความรู้มักเป็นไปในลักษณะที่ให้ความรอบรู้ มีการหารายได้จากการโฆษณาและวางขายทั่วไป ผู้อ่านสามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้ คำว่า "นิตยสาร" มาจากรากศัพท์ คือ นิตย (สม่ำเสมอ) และสาร (เนื้อหา) คำว่า "นิตยสาร" โดยทั่วไปอาจมีความหมายคาบเกี่ยวกับคำว่า วารสาร ซึ่งออกตามกำหนดเวลาที่แน่นอนเช่นกัน แต่ในทางบรรณารักษศาสตร์ ปัจจุบัน เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้มีนิตยสารในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมิใช่สิ่งพิมพ์ แต่ก็ยังเรียกกันว่า "นิตยสาร" เป็นที่น่าสังเกตว่า นิตยสารบางชื่อ ไม่ได้ใช้คำว่า นิตยสาร แต่ก็น่าจะจัดเป็นนิตยสารได้ เช่น "อนุสาร อ.ส.ท." ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขณะที่สิ่งพิมพ์บางชนิด มีความก่ำกึ่ง ระหว่างหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และนิตยสารรายสัปดาห์ เช่น มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ เนชั่นรายสัปดาห์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อหาในเล่ม มีทั้งข่าว วิเคราะห์ข่าว และบันเทิง ในสัดส่วนที่พอๆ กัน โดยทั่วไปนิตยสารมักจะมีลักษณะผ่อนคลาย เล่าเรื่อง ไม่นิยมเขียนในลักษณะตำรา เว้นแต่ละแทรกอยู่เป็นบางส่วนของเล่มนิตยสารสำหรับคนอ่านเฉพาะกลุ่มฉบับแรกของโลกตีพิมพ์ในกรุงลอนดอนเมื่อ พ.ศ. 2274 (สมัยพระเจ้าท้ายสระ) ชื่อ "นิตยสารสุภาพบุรุษ" (The Gentleman's Magazine) เลิกกิจการไปเมื่อ พ.ศ. 2450 นิตยสารสำหรับผู้บริโภคฉบับแรกของโลกคือ "นิตยสารสกอต" (The Scots Magazine) ตีพิมพ์ในสกอตแลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2282 ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และยังคงตีพิมพ์อยู่จนถึงในปัจจุบัน
-                   สิ่งพิมพ์รายคาบ หมายถึง สิ่งพิมพ์เย็บ เล่มที่มีกำหนดออกระบุไว้แน่นอนและต่อเนื่อง มีกำหนดระยะเวลาออกไว้แน่นอนและสม่ำเสมอ เช่น ทุก 1 เดือน (รายเดือน) ทุก 15 วัน (รายปักษ์) ทุก 7 วัน (รายสัปดาห์) เนื้อหาในเล่มประกอบไปด้วยบทความต่างๆ เรื่องราวที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ บางเรื่องจบในฉบับแต่บางเรื่องลงต่อเนื่องกันไปหลายฉบับ เนื้อเรื่องภายในเล่มอาจจะจำกัดขอบเขตตามแขนงวิชาใดวิชาหนึ่ง หรืออาจจะเป็นเรื่องทั่วๆ ไปแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำ
-                   หนังสือพิมพ์ คือ สิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าว การเคลื่อนไหวใหม่ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีกำหนดการออกที่แน่นอนตายตัว โดยส่วนใหญ่จะออกเป็นรายวัน นอกจากนี้แล้วยังมีหนังสือพิมพ์รายสามวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายเดือน หนังสือพิมพ์มักจะพิมพ์ลงในกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์โดยเฉพาะ ซึ่งมีราคาถูกเนื้อหาหลักของหนังสือพิมพ์คือข่าวสารบ้านเมืองและเหตุการณ์ปัจจุบันใน ด้านต่างๆ อาทิ ข่าวการเมือง ข่าวอาชญากรรม ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬา และข่าวบันเทิง มีการใช้รูปภาพประกอบเนื้อหา ทำให้เนื้อหาชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้แล้วอาจมีส่วนต่างๆ เพิ่มเติมเป็นพิเศษ เช่น พยากรณ์อากาศ และ การ์ตูน ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการ์ตูนล้อเลียนการเมือง
แบ่งตามเนื้อหา
-                   หนังสือการ์ตูน เป็นหนังสือที่ตีพิมพ์ภาพและคำพูดประกอบ บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ตามเนื้อเรื่องที่เขียนขึ้น มีทั้งที่อ้างอิงจากความจริง และเกิดจากความคิดของนักวาดการ์ตูน หรือนักแต่งการ์ตูน เป็นผู้วางเอาไว้ สำหรับการ์ตูนญี่ปุ่นอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มังงะโดยส่วนใหญ่ หนังสือการ์ตูน จะเป็นการรวมเล่มของการ์ตูนที่ตีพิมพ์ในหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ เช่น บูม, ซีคิดส์, KC Weekly เป็นต้น ยังมีการ์ตูนที่แต่งเป็นพิเศษ หรือล้อเลียนการ์ตูนที่เขียนขึ้นแล้ว เพื่อความบันเทิงส่วนตัว หรือแต่งเพื่อกลุ่มคนที่ชอบในรูปแบบเดียวกัน เรียกว่า โดจิน หรือโดจินชิ
-                   หนังสือแบบเรียน เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นตามขอบเขตของเนื้อหาวิชาต่างๆ ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ในรายวิชาต่างๆ
-                   หนังสือภาพ เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่มีเนื้อหาง่ายๆ หรือ เป็นหนังสือภาพการ์ตูน หนังสือประเภทนี้จะให้ความรู้ คติสอนใจ และสนองความต้องการอยากรู้อยากเห็นของเด็ก

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โครงร่างงานวิจัยของนักศึกษา


                                                                                                 
 งานวิจัยเรื่อง ศิลปะการออกแบบหนังสือแบบฝึกหัดเด็กปฐมวัย : โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม
ART DESIGN PROJECT OF EXERCISE BOOK   

 ชื่อผู้ทำวิจัย    นาย อารยะ พุธวันดี
รหัสประจำตัว  
สาขาวิชาศิลปกรรม (ออกแบบประยุกต์ศิลป์) 
ภาควิชามนุษยศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 


ความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัย.....................................................................
............................................................................................................................................

                                                                   ลงชื่อ .............................................
                                                                           (...........................................)





คณบดีหรือรองคณบดีพิจารณาเห็นชอบ
................................................................................................................................................

                                                                     ลงชื่อ ............................................
                                                                           (...........................................)
ข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมประเภทนักศึกษา


ส่วน ก : ลักษณะทั่วไปของโครงการวิจัย
1. ปีการศึกษาที่เสนอขอรับทุน ................
2. ประเภทการวิจัย
            (  ) การวิจัยเชิงสำรวจ      ) การวิจัยเชิงทดลอง (  ) การวิจัยและพัฒนา
3. งบประมาณที่เสนอขอทุน  5,000 บาท
4. ระยะเวลาในการทำวิจัย 1 ปี

ส่วน ข : รายละเอียดการทำวิจัย
1. ชื่อโครงการวิจัย ศิลปะการออกแบบหนังสือแบบฝึกหัดเด็กปฐมวัย : โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม
    ART DESIGN PROJECT OF EXERCISE BOOK 
2. ที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
           หนังสือ เป็นสื่อที่รวบรวมของข้อมูล ประเภทตัวอักษร และ รูปภาพ ที่ลงในแผ่นกระดาษ หรือ วัสดุชนิดอื่น และรวมเข้าด้วยกัน ด้วยวิธีการ เย็บเล่ม หรือ ทากาว เข้าด้วยกันที่บริเวณขอบด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีขนาดต่างๆกัน แต่มักจะไม่ทำใหญ่กว่าการจับและเปิดอ่านสะดวก หนังสือมักจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ วรรณกรรม ต่างๆ สำหรับหนังสือในรูปแบบที่เก็บในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์ จะเรียกว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีบุ๊ก (e-book)
ความสำคัญของหนังสือและประโยชน์ของหนังสือ                
หนังสือมีความสำคัญและมีประโยชน์กับชีวิตมาก  เพราะมนุษย์ต้องการแสวงหาคำตอบที่ตนอยากรู้ อยากเห็นด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น  ซักถาม และเดินทาง  เป็นต้น แต่วิธีที่มนุษย์จะแสวงหาคำตอบได้ดีที่สุด และสะดวกที่สุด  คือ การแสวงหาคำตอบจากหนังสือ  ดังนั้นหนังสือจึงเป็นแหล่งอ้างอิงที่ดีที่สุด
ประโยชน์ของแบบฝึก
    1.  เป็นส่วนเพิ่มหรือเสริมหนังสือเรียนในการเรียนทักษะ เป็นอุปกรณ์การสอนที่ช่วย
ลดภาระของครูได้มาก เพราะแบบฝึกเป็นสิ่งที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบ
2.  ช่วยเสริมทักษะทางการใช้ภาษา แบบฝึกเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เด็กฝึกทักษะการใช้
ภาษาได้ดี แต่ต้องอาศัยการส่งเสริมและเอาใจใส่จากครูผู้สอนด้วย
3.  ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากเด็กมีความสามารถทางภาษา
แตกต่างกัน การให้เด็กทำแบบฝึกที่เหมาะสมกับความสามารถจะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในด้านจิตใจมากขึ้น
4.  แบบฝึกช่วยเสริมให้ทักษะทางภาษาคงทนโดยกระทำ ดังนี้
4.1  ฝึกทันทีหลังจากที่เด็กได้เรียนรู้เรื่องนั้น ๆ
4.2  ฝึกซ้ำหลาย ๆ ครั้ง
4.3  เน้นเฉพาะเรื่องที่ต้องฝึก
                5.  แบบฝึกที่ใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้หลังจากบทเรียนในแต่ละครั้ง
                6.  แบบฝึกที่จัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม เด็กสามารถเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นแนวทางและทบทวน
ด้วยตนเองได้ต่อไป
                7.  การให้เด็กทำแบบฝึกช่วยให้ครูมองเห็นจุดเด่นหรือปัญหาต่าง ๆ ของเด็กได้ชัดเจน
ซึ่งจะช่วยให้ครูดำเนินการปรับปรุงแก้ปัญหานั้น ๆ ได้ทันท่วงที
                8.  แบบฝึกที่จัดทำขึ้น นอกเหนือจากที่มีอยู่ในหนังสือเรียน จะช่วยให้เด็กได้ฝึกฝน
อย่างเต็มที่
                9.  แบบฝึกที่จัดพิมพ์ไว้เรียบร้อย จะช่วยให้ครูประหยัดทั้งแรงงานและเวลาในการที่จะ
ต้องจัดเตรียมสร้างแบบฝึกอยู่เสมอ ในด้านผู้เรียนก็ไม่ต้องเสียเวลาลอกแบบฝึกจากตำราเรียน ทำให้มีโอกาสฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ได้มากขึ้น
                10.  แบบฝึกหัดช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะการจัดพิมพ์ขึ้นเป็นรูปเล่มแน่นอนย่อมลงทุนต่ำกว่าที่จะพิมพ์ลงกระดาษไขทุกครั้ง ผู้เรียนสามารถบันทึกและมองเห็นความก้าวหน้าของตนเองได้อย่างมีระบบระเบียบ

3. วัตถุประสงค์การวิจัย
    3.1  เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบหนังสือแบบฝึกหัดเด็กปฐมวัย
     3.2  เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริง (PROTOTYPE) ของหนังสือแบบฝึกหัด

4. สมมติฐานการวิจัย

5. นิยามศัพท์เฉพาะ
หนังสือแบบฝึกหัด คืออุปกรณ์ช่วยเหลือในการสอนรูปแบบหนังสือที่ทำมาเพื่อเพิ่มการพัฒนาการของเด็กในวัยต่างๆโดยง่ายขึ้น
งานพิมพ์ การออกแบบสื่อและสิ่งพิมพ์ คืองานที่ผ่านกระบวนการการพิมด้วยเครื่องปรินท์เตอร์โดยผ่านการออกแบบรูปแบบในคอมพิวเตอร์

            
6. ขอบเขตการวิจัย
    6.1  แบบร่าง(IDEA  SKETCH)
    6.2  แบบที่ทำการสรุป(CONCEPT  SKETCH)
    6.3  แบบเพื่อนำไปผลิต(WORKING  DRAWING  หรือ ART  WORK) 
    6.4  ต้นแบบเหมือนจริง(PROTOTYPE)
    6.5  รายงานการวิจัยจำนวน 3 ฉบับ 
    6.6  ซีดีรายงานการวิจัยจำนวน 1 ชุด

7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
    7.1  กระบวนการออกแบบศิลปะการออกแบบหนังสือแบบฝึกหัดเด็กปฐมวัย
     7.2  ต้นแบบเหมือนจริงของศิลปะการออกแบบหนังสือแบบฝึกหัดเด็กปฐมวัย
ขนาดความกว้าง-ยาว : 210 X 297 (A4) ปกหนา1หน้า คำนำ1หน้า แนะนำตัวละคร1หน้า เนื้อหาประมาณ10หน้า ที่มาหนังสือและสถานที่พิมพ์,ผู้จัดการพิมพ์1หน้า ปกหลังหนา 1 แผ่น






8. การทบทวนวรรณกรรมและเอกสารอ้างอิง
   ในการวิจัยเรื่องการออกแบบหนังสือแบบฝึกหัดเด็กปฐมวัย*******ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ตรงตามConcept ที่กำหนดไว้และเป็นงานที่ถูกต้องตามหลักทฤษฎีของสีและการจัดองค์ประกอบต่างๆ ในการออกแบบรูปภาพและแบบฝึกหัด ผู้ศึกษาจึงใช้หลักการที่เกี่ยวข้องดังนี้
   

 8.1 ทฤษฎี
   8.1.1  การออกแบบรูปภาพและแบบฝึกหัด          เนื้อหาที่เกี่ยวข้องก็คือ การรู้จักคิด วางแผน ในการสร้างสรรค์สิ่งที่มีอยู่แล้วนำมาปรับปรุง ดัดแปลงแก้ไข หรือสร้างสรรค์ใหม่โดยใช้วิธีการต่างๆ ทำให้เกิดความงาม เพื่อการประดิษฐ์ตกแต่งใหม่ให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย (เอมอร วิศุภกาญจน์,2542 : 2)
            8.1.2  หลักการใช้สี
           เนื้อหาที่เกี่ยวข้องก็คือ สีมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับมนุษย์เป็นอย่างมากในด้านของการรับรู้ อารมณ์ความรู้สึก การที่เราจะกำหนดสีสัน ผู้ออกแบบควรรับรู้หลักการใช้สีเพื่อจะได้กำหนดสีได้ถูกต้อง เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และประโยชน์ใช้สอยอีกด้วย
(ดุษฎี  สุนทรารชุน,2531 :107)
8.1.3  หลักการใช้สีประกอบร่วมแบบวรรณะ (TONE)
                      เนื้อหาที่เกี่ยวข้องก็คือ สีเราจะนำมาระบายนั้นส่วนใหญ่มักจะใช้สีประกอบร่วมแบบ  
            วรรณะใดวรรระหนึ่ง แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้ที่ทำการออกแบบที่จะมุ่งที่ทำให้ผู้ดูเกิดความรู้สึก
            ไปในทางร้อนหรือเย็น หรืออีกทางหนึ่งก็คือทำให้เกิดการผสมผสานและกลมกลืนกัน การใช้สี
            ประกอบร่วมวรรณะจะไม่ใช้วรรณะใดวรรณะหนึ่งโดดเดี่ยว โดยกำหนดหลักการใช้สีไว้ ในอัตรา 
            50/50,60 /40,80/20 (คนึง จันทร์ศิริ:มปป.)

     8.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
           
          8.2.1 โครงการออกแบบหนังสือการ์ตูน : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม พบว่า การนำจิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัยมาทำการประยุกต์และนำเสนอในรูปแบบใหม่ลงในหนังสือ สร้างเนื้อหาและรูปแบบหนังสือพร้อมกับข้อคิดตอนท้ายเรื่อง ทำให้คนที่อ่านหนังสือเล่มนั้นได้คิดตามเรื่องที่เกิดขึ้นในหนังสือ และมีข้อคิดให้คิดตามกับผมที่ตามมาจากเนื้อเรื่อง



9. ระเบียบวิธีวิจัย
     9.1 ประชากร
            กลุ่มผู้บริโภคgeneration จำนวน 30 คน
     9.2 การสุ่มตัวอย่าง
             ใช้การสุ่มแบบง่าย ตามสูตรยามาเน
จากนั้นจึงกำหนดกระบวนการตามกรอบการวิจัย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
9.2.1 ขั้นตอนการวางแผนก่อนการผลิต  (PRE-PRODUCTION)
- กำหนดประเด็นของปัญหา  ตัวแปรต้น  และตัวแปรตาม  เพื่อ
   ตั้งสมมติฐาน
- จัดทำแบบร่าง  (IDEA  SKETCH)  และทำการสรุปแบบตามสมมติฐาน 
  (CONCEPT  SKETCH)
9.2.2 ขั้นตอนการผลิต  (PRODUCTION)
    - แสดงกระบวนการผลิตต้นแบบเหมือนจริง
9.2.3 ขั้นตอนหลังการผลิต  ( POST  PRODUCTION)
-ประเมินผลด้วยเครื่องมือที่สร้างไว้โดยมีความสัมพันธ์กับลักษณะของ
  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการวิจัยในรูปแบบความเรียง
    9.3  เครื่องมือในการวิเคราะห์มูล
            - แบบสอบถามความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์
            - แบบสัมภาษณ์
     9.4  การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
            - วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ( X ) จากร้อยละ


10. แผนการดำเนินงานตลอดโครงการ
กิจกรรม
.. 51
..  51
..  52
..  52
หมายเหตุ
1.การวางแผนก่อนการผลิต 
     - ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล
     - แบบร่าง
     - สรุปแบบ





2.กระบวนการผลิต 
     - สรุปแบบ





3.กระบวนการหลังการผลิต 
     - ทดสอบสมมติฐาน  
     - วิเคราะห์ข้อมูล
     - แปรผล
     - เรียบเรียงรายงานการวิจัย





11. รายละเอียดงบประมาณ
      11.1 ค่าใช้สอย  
ลำดับ

                 รายการ
ราคาต่อ
 หน่วย
จำนวน
  รวมเงิน
หมายเหตุ
1
ค่าจ้างปริ้นสี
 30  บาท
14 แผ่น
420 บาท

2
ค่าเข้าเล่ม
 50  บาท
7  เล่ม
350 บาท

 
                                 รวมเป็นเงิน
                     


770 บาท


11.2                      ค่าวัสดุ  (ค่าวัสดุที่ผลิตผลงานต้นแบบเหมือนจริง)
ลำดับ

                 รายการ
ราคาต่อ
 หน่วย
จำนวน
  รวมเงิน
หมายเหตุ
  1.
กระดาษอาร์ทมัน
       
 15 บาท


14 แผ่น

 
      
210 บาท


                                 รวมเป็นเงิน
                     


210 บาท

พิมพ์หนังสือจำนวน 5 เล่ม ราค...4900...บาท
รวมงบประมาณทั้งสิ้นเป็นเงิน... 5,000… บาท     
                                
หมายเหตุ : ถัวเฉลี่ยทุกรายการ


  ลงชื่อ .............................................
                                                                                                 ( นายอารยะ พุธวันดี  )
                                                                                                           ผู้ขอทุนวิจัย
                                                                                                     ......../........./..........


ประวัติผู้วิจัย
 

Photo
 
ชื่อ-สกุล                                    นายอารยะ พุธวันดี
                                    Mr. Araya Putwandee
รหัสประจำตัว                    
ที่อยู่ปัจจุบัน
                68/36   ถ.ประชาชื่น     ต.ท่าทราย    อ.เมือง    จ.นนทบุรี    11000

หมายเลขโทรศัพท์มือถือ   085-3887291
หมายเลขโทรศัพท์ที่พักอาศัย   -
E-Mail: arayaputwandee@gmaol.com

ประวัติการศึกษา
                                     -     ประถมศึกษา โรงเรียนรุ่งโรจวิทยา
                                     -     มัธยมศึกษา  โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์
                                     -     กำลังศึกษาชั้นปีที่ 3  สาขาวิชาศิลปกรรม  (ออกแบบประยุกต์ศิลป์)
      ภาควิชามนุษยศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
                                           มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม



                               …………………………………
                               ( นายอารยะ พุธวันดี )
                                ผู้วิจัย
                                                                               วันที่......./เดือน..../..........